Home | ข่าวสารและบทความ | ข้อควรรู้สำหรับครัวไทย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์งานครัวแบบไทยๆ

LTP

ข้อควรรู้สำหรับครัวไทย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์งานครัวแบบไทยๆ

ครัวไทยเป็นครัวอีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของบ้านเรามากที่สุด เพราะหลายบ้านมีการทำงานครัวหนักๆ ชนิดสมบุกสมบันทั้งเมนูต้มผัดแกงทอด ทำให้ครัวไทยจำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นรองรับการใช้งานที่ดุเดือด ร้อนแรงจัดจ้านไม่แพ้รสชาติอาหารที่ปรุง และวันนี้ LTP จะมาแนะนำข้อควรรู้เกี่ยวกับครัวไทย เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการทำงานครัวแบบไทยๆ ที่เน้นการประกอบอาหารอันเป็นหัวใจหลักได้อย่างสะดวกและครบครัน


1. ตำแหน่งที่เหมาะสม


ครัวไทยในสมัยก่อนนิยมสร้างแยกออกมานอกตัวบ้าน โดยทำเป็นครัวเปิดโล่งให้ลมพัดเอากลิ่นและควันจากการประกอบอาหารออกไปไกลจากพื้นที่บ้าน ทว่าในปัจจุบันบ้านยุคใหม่บางแห่งอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ การโยกย้ายครัวออกไปนอกตัวบ้านจึงทำได้ยาก ฉะนั้นหากต้องการต่อเติมครัวเพิ่มเติม แนะนำว่าควรต่อเติมให้ครัวอยู่หลังสุดของบ้าน หรือทิศที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และจัดวางเตากับอ่างล้างจานไว้ใกล้กับช่องประตูหน้าต่าง เพื่อช่วยระบายกลิ่น ควัน และลดความอับชื้นในพื้นที่


อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆ 



2. ท็อปเคาน์เตอร์สำหรับครัวไทย


ควรเลือกวัสดุที่มีความแข็งแรง รองรับการทำอาหารทุกประเภท ไม่ต้องห่วงเรื่องปลวกหรือแมลงกัดแทะ เช็ดถูทำความสะอาดง่ายเพื่อลดคราบสกปรกฝังแน่น ยกตัวอย่าง สเตนเลส หินแกรนิต หรือเลือกใช้เป็นเคาน์เตอร์ปูนที่รองรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการโขลก การตำ การสับได้ดีมาก และตกแต่งผนังเคาน์เตอร์ (Backsplash) ด้วยแผ่นตกแต่งผนังเคลือบใยหินที่มีลวดลายให้ความรู้สึกเสมือนวัสดุธรรมชาติจริง ช่วยเสริมความสวยงามแก่มุมทำครัวให้ดูทันสมัยและหรูหรา น่าใช้งานยิ่งขึ้น



ภาพ : Pinterest


3.เน้นแสงธรรมชาติ

แสงธรรมชาติมีประโยชน์ช่วยให้บรรยากาศในพื้นที่ครัวดูโล่งโปร่งสบายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดเชื้อรา โดยเฉพาะตามบริเวณต่างๆ ที่สะสมความชื้นอันเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อโรคมากมาย ทว่ามีข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ การวางสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องเลี่ยงแสงแดด เช่น เตาแก๊ส หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างตู้เย็น เตาไมโครเวฟ ก็ควรจัดหาที่วางให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ชำรุดเสียหาย



ภาพ : Dwell.com



3. อากาศถ่ายเทสะดวก


ครัวไทยที่ดีและตอบโจทย์ที่สุด ควรเน้นเรื่องการะบายอากาศ มีลมพัดได้สะดวก ไม่อุดอู้จนอบอ้าวเกินไป โดยเฉพาะเวลาที่ต้องประกอบอาหารที่มีกลิ่นฉุนมากๆ การต่อเติมครัวไทยจึงควรกำหนดหน้าต่าง หรือช่องลมที่มีขนาดเหมาะสมโดยเฉพาะบริเวณเหนือเตาและอ่างล้างจาน มีช่องระบายจำนวนมากพอที่จะเพิ่มการหมุนเวียนของอากาศได้ดี ควรมีบานพับหรือบานเลื่อนเปิดปิดง่ายเพื่อป้องกันสัตว์ต่างๆ เข้ามากินเศษอาหาร หรืออาจตีระแนงผนังระบายลมก็ได้เช่นกัน และควรกำหนดมุมปรุงอาหารและมุมชำระล้างให้เป็นสัดส่วน ส่วนที่พักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด ควรวางแผนติดตั้งระบบระบายอากาศด้วยเครื่องดูดควันกำลังแรงสูง หรือพัดลมระบายอากาศ เพื่อกำจัดควันและกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่


4. จัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ


เสริมฟังก์ชั่นการจัดเก็บให้พื้นที่ของคนรักการทำอาหารมีความเรียบร้อย และเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้นด้วยการติดตั้งชั้นวางของ หรือบิวท์อินตู้เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ใช้สำหรับจัดระเบียบ เก็บขวดเครื่องปรุง หรือเครื่องครัวเล็กใหญ่ ทั้งหม้อ กระทะ ครก จาน ชาม และอื่นๆ มากมาย ที่สำคัญอย่าลืมทำความสะอาดหลังทำงานครัวทุกครั้งเพื่อสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้งาน และลดการสะสมของเชิ้อแบคทีเรียจากเศษอาหารสะสมจนเน่าบูดด้วย


Quick Tip



เคาน์เตอร์ไอส์แลนด์แบบกึ่งชั้นวาง มีประโยชน์ช่วยจัดระเบียบอุปกรณ์ต่างๆ ให้หยิบใช้งานง่าย

และยังเป็นพื้นที่สำหรับโชว์เครื่องครัวเก๋ๆ ซึ่งสามารถตกแต่งพื้นครัวไทยให้ดูดีมีเสน่ห์ เป็นเอกลักษณ์ยิ่งขึ้น

Cr.ภาพ : Architectural Digest




แผ่นตกแต่งผนังเคลือบใยหิน LTP สดสวยด้วยโทนสีธรรมชาติ ลวดลายคมชัดเสมือนจริง เหมาะสำหรับตกแต่งพื้นที่ได้หลากหลายสไตล์ ใช้งานได้กับครัวไทยยุคใหม่ที่มีความทันสมัยยิ่งขึ้นแต่ยังต้องมีฟังก์ชั่นรองรับเรื่องการทำงานครัวหนักๆ ซึ่งแผ่นตกแต่งผนัง LTP นั้นทนทานต่อความชื้น ทนสภาพอากาศ มด ปลวก และแมลงไม่กัดแทะ ตอบโจทย์กับข้อจำกัดของครัวไทยได้เป็นอย่างดี





ลายอิฐโมเสก

https://ltpgroup.co.th/LTP-home/PVC/I0-1002




ลายหินดำ

https://ltpgroup.co.th/LTP-home/PVC/I0-1009




หรือสามารถดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม และเลือกดูลายอื่นๆ ได้ที่ https://ltpgroup.co.th/LTP-home/PVC และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

Line OA : @035ywvki
โทร 02-1918766 ต่อ 10


Share
แชร์
Share

บทความแนะนำ

สำนักงานใหญ่

บริษัท ลาภทวีภัณฑ์ กรุ๊ป
98,98/1,101 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

แผนที่ LTP

อีเมล

LTP [email protected]