Home | ข่าวสารและบทความ | กาวซิลิโคน อุปกรณ์งานช่างที่ควรติดบ้าน ไม่ว่าใครก็ใช้ได้

LTP

กาวซิลิโคน อุปกรณ์งานช่างที่ควรติดบ้าน ไม่ว่าใครก็ใช้ได้

หลายบ้านประสบปัญหาบ้านมีรอยร้าว รอยรั่วเล็กๆ หรือมีรอยซึมที่เห็นว่าอาจจะจัดการได้เองง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ้างช่างมาซ่อม เพียงแค่ใช้ “ซิลิโคน” และอุปกรณ์เพิ่มเติมนิดหน่อย คุณก็สามารถอุดรอยต่างๆ เองได้แบบสบายๆ และในวันนี้ LTP จะมาแชร์สาระสำคัญของซิลิโคน สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยผ่านการทำงานช่าวมาก่อน ว่าซิลิโคนนั้นมีกี่ประเภท มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง และวิธีใช้งานแบบง่ายๆ เพื่อให้คุณได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และเพิ่มความมั่นใจได้ ก่อนที่คุณจะนำไปใช้งานจริง


ภาพจาก oola.com


รู้จัก “กาวซิลิโคน”


กาวซิลิโคน หรือที่รู้จักกันว่า ซิลิโคนยาแนว เป็นกาวที่มีส่วนประกอบหลักคือโพลิเมอร์ซิลิโคน เป็นนิยมมากในงานช่าง สีของเนื้อกาวมีความมันวาว มีลักษณะคล้ายเจล มีคุณสมบัติคือยืดหยุ่นสูงเมื่อแห้งหรือแข็งตัว ทนต่อสภาพอากาศ ทนแดด ทนฝน ทนรังสียูวีได้ดี มีแรงยึดเกาะสูง สามารถนำไปใช้ในงานช่างเหมาะสำหรับอุดรอย ปิดช่องว่างรอยต่อต่างๆ ใช้งานได้ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร ตั้งแต่งานเล็กๆ ในครัวเรือนไปจนถึงงานระดับอุตสาหกรรม เช่น งานรับเหมาก่อสร้าง มีข้อจำกัดคือทาสีทับไม่ได้ 


กาวซิลิโคนที่มีขายทั่วไป และข้อดีข้อเสีย


กาวซิลิโคนที่เราเห็นขายกันทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท คือแบบมีกรด (Acetic Cure Silicone) และแบบชนิดเป็นกลางหรือแบบไม่มีกรด (Neutral Cure Silicone)


1.แบบมีกรด

เป็นซิลิโคนที่มีสารระเหยเป็นส่วนผสม ข้อดีคือแห้งไว มีความยืดหยุ่นพอดี มีความทนทานค่อนข้างสูง ทั้งต่ออากศและรังสียูวี มีแรงยึดเกาะสูง อายุการใช้งานยาวนาน แต่มีข้อเสียคือสารระเหยนั้นทำให้มีกลิ่นเปรี้ยวคล้ายๆ น้ำส้มสายชู แต่เมื่อแห้งแล้วกลิ่นจะหายไปเอง และยังมีฤทธิ์กัดกร่อน อาจต้องระมัดระวังเวลาใช้งาน เพราะอาจกัดกร่อนผิววัสดุให้เกิดความเสียหายได้ ไม่ควรใช้กับวัสดุจำพวกหินธรรมชาติโดยเฉพาะหินอ่อน หรือโลหะซึ่งจะทำปฏิริยาให้เกิดสนิม โดยส่วนใหญ่มักนำมาใช้ติดวัสดุประเภทกระจกเสียมากกว่าเพราะทนต่อฤทธิ์สารเคมีได้ รวมถึงใช้ติดไฟเบอร์กลาส ไม้ อะลูมิเนียม หรือเซรามิก


2. แบบไม่มีกรด (เป็นกลาง)

สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ชนิดออกไซม์กับชนิดอัลโคซี่ ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นมากกว่ากาวซิลิโคนแบบมีกรด กลิ่นไม่เหม็น ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนผิววัสดุ สามารถใช้กับหินธรรมชาติ และโลหะต่างๆ ได้สบายๆ แต่ข้อเสียคือแห้งช้ากว่าแบบมีกรด ราคาสูงกว่า ทนทานน้อยกว่า และแข็งแรงน้อยกว่า


3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้กาวซิลิโคน


1. เตรียมพื้นผิววัสดุ

ก่อนยิงกาวซิลิโคนควรทำความสะอาดฝุ่น คราบสกปรก หรือคราบใดๆ บนพื้นผิววัสดุที่ต้องยิงกาวออกให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน ทำให้กาวซิลิโคนติดกับผิววัสดุได้แน่นโดยไม่ไปจับกับสิ่งสกปรก จึงยึดเกาะได้ดียิ่งขึ้น และหากมีคราบซิลิโคนเก่าติดอยู่บนผิววัสดุ ควรใช้น้ำยากำจัดคราบกาวซิลิโคนเช็ดออกก่อน


2.ประกอบหลอดซิลิโคนกับปืนยิงกาว

ส่วนใหญ่แล้วกาวซิลิโคนมักต้องใช้งานควบคู่กับปืนยิงกาว เพื่อดันเนื้อกาวออกจากหลอด วิธีการประกอบคือตัดปลายหลอดซิลิโคนเป็นมุมเฉียงประมาณ 45 องศา จากนั้นบรรจุหลอดใส่ปืนแล้วหมุนขันหลอดกาวให้แน่น


3. ยาแนวซิลิโคนบนพื้นผิววัสดุ

ยิงกาวซิลิโคนเพื่อยาวแนวในจุดที่ต้องการ โดยเอียงหลอดประมาณ 45 องศา ซึ่งเป็นองศาที่เหมาะสมที่สุด เมื่อยาแนวเรียบร้อยแล้วจึงใช้เกรียงปาดแต่งเก็บงาน แต่งขอบให้สวยงามเรียบเนียนหรือจะใช้มือจุ่มน้ำสบู่ปาดแต่งให้เรียบร้อย (ต้องปาดแต่งก่อนเนื้อซิลิโคนจะแห้ง) จากนั้นจึงทิ้งไว้ให้แห้ง ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชม.


กาวซิลิโคนในท้องตลาดมากมายหลายเกรด แต่ละเกรดหรือแต่ละสูตรอาจมีคุณสมบัติบางประการที่แตกต่างกัน เช่น มีสารป้องกันเชื้อรา ไม่ลามไฟ หรือยาแนวประตูหน้าต่าง หลังคาทั่วไป ฉะนั้นจึงควรปรึกษาร้านหรือผู้รู้ก่อนจ่ายเงิน เพื่อให้ได้กาวซิลิโคนที่มีประสิทธิภาพต่องานของคุณมากที่สุด




ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้

Facebook : https://www.facebook.com/ltpmetal

Line OA : @Ltpgroup

โทร 02-1918766 ต่อ 10


อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม


Share
แชร์
Share

บทความแนะนำ

สินค้าแนะนำ

สำนักงานใหญ่

บริษัท ลาภทวีภัณฑ์ กรุ๊ป
98,98/1,101 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

แผนที่ LTP

อีเมล

LTP [email protected]