Home | ข่าวสารและบทความ | เลือกซื้อกาวยาแนว ใช้งานให้รอด คุณภาพงานไม่ร่วง

LTP

เลือกซื้อกาวยาแนว ใช้งานให้รอด คุณภาพงานไม่ร่วง

หลายบ้านเผชิญกับปัญหาน้ำรั่วซึมหรือรอยแตกร้าวต่างๆ ของอาคารบ้านเรือนเช่นตามกระเบื้อง กำแพง ขอบกระจก กรอบประตูหน้าต่าง หรือฝ้าเพดาน โดยวิธีการซ่อมแซมก็คือการยาแนวอุดรอยรั่ว เชื่อมรอยร้าวโดยใช้วัสดุกาวยาแนวที่มีขายตามท้องตลาด หรือปัญหาพื้นห้องน้ำ ผนังที่กรุกระเบื้องมีรอยดำของเชื้อราไม่น่ามอง เราก็อยากจะแก้ไข รื้อของเก่าออกมายาแนวใหม่ เพื่อให้กลับมาดูสวยงามน่าใช้งานเหมือนเดิม แต่แทนที่เราจะได้พื้นที่สวยๆ ตามที่ใจต้องการ เมื่อเวลาผ่านไป ตรงจุดที่ยาแนวใหม่นั้นกลับหลุดร่อนไม่ยึดเกาะ ซึ่งสาเหตุก็มาจากการเลือกใช้วัสดุยาแนวไม่เหมาะสมกับงาน วันนี้ LTP จึงจะมาแนะนำวัสดุยาแนวแบบต่างๆ ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท พร้อมคำแนะนำในการใช้งานเพิ่มเติม เพื่อให้เลือกใช้ยาแนวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับงานมากที่สุด


Cr.ภาพจาก : https://unsplash.com/


ซิลิโคน

มีลักษณะคล้ายเจล ทาสีทับไม่ได้ มีความยืดหยุ่นสูง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งงานในบ้านเรือนและงานอุตสาหกรรม ข้อดีคือทนต่อรังสียูวี สภาพอากาศ ยึดเกาะสูง เหมาะสำหรับใช้งานภายนอกโดยมักนำมายาแนววัสดุที่มีพื้นผิวเรียบ เช่น กระจก อะลูมิเนียม โลหะ ซึ่งโดยทั่วไปซิลิโคนมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือแบบมีกรดและไม่มีกรด สำหรับแบบมีกรดจะมีข้อเสียเรื่องกลิ่น และมีฤทธิ์กัดกร่อนที่อาจทำให้วัสดุจำพวกหินหรือเซรามิกเสียหายได้ แต่มีข้อดีคือแห้งเร็วและยึดเกาะได้แข็งแรงมาก เหมาะสำหรับอุดรอยกระจกต่างๆ หรือวงกบประตูหน้าต่าง ส่วนแบบไม่มีกรดจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า ไม่มีกลิ่นกวนใจ แต่จะแห้งช้า ไม่ทนทานเท่าแบบมีกรด รวมถึงมีราคาแพงกว่าอีกด้วย




อะคริลิค (แด๊ป)

เป็นกาวยาแนวที่ราคาไม่แพง เมื่อแข็งตัวจะมีผิวด้าน ไม่ละลายน้ำ ข้อดีคือทาสีทับและขัดตกแต่งผิวเพื่อความสวยงาม เก็บงานได้เรียบร้อย แต่มีข้อเสียคือมีความยืดหยุ่นน้อย ส่งผลให้ไม่ค่อยมีความทนทาน แตกหักง่าย รับแรงได้ไม่ดีนัก ไม่ทนต่อสภาพอากาศโดยเฉพาะอากาศร้อนและใช้งานบริเวณพื้นที่เปียกชื้นไม่ได้ เพราะอาจทำให้เกิดรา จึงไม่เหมาะสำหรับใช้งานภายนอก  ส่วนใหญ่มักนำมาใช้ในงานที่ไม่ได้รับน้ำหนักมาก เช่น ปิดรอยร้าวขนาดเล็ก ปิดรอยผนังแตก ยาแนวรอยต่อกรอบประตูและกรอบหน้าต่างกับผนัง หรือรอยต่อสุขภัณฑ์

 

อ่านบทความอื่นๆ




โพลียูริเทน (กาวพียู)

มีลักษณะคล้ายยาง มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพอุดรอยแยกหรือรอยแตกร้าวต่างๆ ได้ดี รองรับการขยับตัวของรอยต่อได้ดี มีความทนทานสูง ฉีกขาดยาก ไม่หลุดร่อนง่าย และทนต่อรังสียูวีอีกด้วย เมื่อแห้งแล้วจะไม่หดตัว และทาสีทับตกแต่งเพื่อความสวยงามได้ เหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องยึดเกาะแน่นมากๆ มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ จึงมักนำมาใช้ยาแนวรอยต่อโครงสร้างของอาคาร รอยต่อเมทัลชีท แผ่นพรีคาสท์คอนกรีต กระจกหน้ารถยนต์ โครงรถยนต์ และวัสดุอื่นๆ ทั่วไป

 

โมดิฟายซิลิโคน (ไฮบริด)

เป็นกาวยาแนวที่รวมข้อดีของพียูกับซิลิโคนไว้ด้วยกัน คือ มีความยืดหยุ่นสูงและแข็งแรงมาก ยึดเกาะได้ดีกับวัสดุแทบทุกชนิด ทั้งปูน คอนกรีต โลหะ สเตนเลส อะลูมิเนียม พีวีซี หินธรรมชาติ ไม้ ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไปจนถึงโพลีสไตรีน และยังทนแสงแดด ทนรังสียูวี ทนสภาพอากาศในฤดูต่างๆ ใช้งานบริเวณที่เปียกชื้นได้  ปราศจากกรดที่กัดกร่อนทำลายพื้นผิววัสดุต่างๆ ไม่สลายตัวง่ายเมื่อใช้งานไปในระยะเวลานานๆ เป็นกาวยาแนวที่ปราศจากสารพิษ สารทำละลาย กลิ่นไม่ฉุน มีความปลอดภัยสูง ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก เรียกได้ว่าเป็นวัสดุยาแนวที่ครอบคลุมที่สุด แต่มีข้อเสียคือราคาแพงกว่ายาแนวชนิดอื่นตามคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการใช้งาน


ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้กาวยาแนวชนิดต่างๆ


- ควรเลือกกาวยาแนวให้เหมาะสมกับงานช่าง เพราะจะมีผลต่อค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณในการซ่อมแซม

-ทำความสะอาดพื้นผิววัสดุที่ต้องการเชื่อมต่อหรืออุดให้เรียบร้อยก่อนยาแนว เพื่อให้เนื้อกาวยึดเกาะได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

-เลือกใช้ยาแนวที่มีสารไมโครแบนซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันเชื้อรา จะทำให้ดูแลทำความสะอาดง่าย เพื่อสุขอนามัยที่ดี


แด๊ปและซิลิโคนสูตรยืดหยุ่นสูง LTP ใช้ยาแนวอุดรอยรั่ว กันซึม และประสานรอยร้าวต่างๆ ได้อย่างดีโดยไม่ต้องผสม มีคุณสมบัติทนต่อทุกสภาพอากาศ หรือสภาพแวดล้อมในประเทศไทย และครอบคลุมการใช้งานก่อสร้างทั้งภายใน-ภายนอก มีหลายสีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของพื้นผิววัสดุ




ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้


Line OA : @Ltpgroup

โทร 02-1918766 ต่อ 10

Share
แชร์
Share

สำนักงานใหญ่

บริษัท ลาภทวีภัณฑ์ กรุ๊ป
98,98/1,101 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

แผนที่ LTP

อีเมล

LTP [email protected]