Home | ข่าวสารและบทความ | เลือก กาวสำหรับงานช่าง แต่ละชนิดเหมาะกับงานแบบไหน

LTP

เลือก กาวสำหรับงานช่าง แต่ละชนิดเหมาะกับงานแบบไหน

เป็นเรื่องธรรมดา หากจะมีของใช้สักชิ้นในบ้านชำรุดเสียหาย ซึ่งถ้าเป็นการเสียหายแบบแตกหัก บางกรณีก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่พ่อบ้านแม่บ้านจะซ่อมแซมเองได้โดยไม่ต้องจ้างช่างให้สิ้นเปลือง


“กาว” ถืออุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกคนรู้จักกันดี มีประโยชน์สำหรับใช้ซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ ที่แตกหัก เช่น กระเบื้องแตก เฟอร์นิเจอร์หัก โดยจะใช้สำหรับเชื่อมหรือประสานวัสดุสองชิ้นเข้าด้วยกัน ทำให้กลับมาใช้งานได้ปกติเหมือนเดิม ซึ่งกาวที่นิยมใช้กันในปัจจุบันก็มีมากมายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการใช้งานเป็นหลัก ถ้าเราเลือกไม่ถูก อาจทำให้กาวนั้นทำงานได้ไม่เต็มที่ ฉะนั้นหากจำเป็นต้องเลือกนำมาใช้งานจริงๆ ก็ควรเลือกให้เหมาะสมต่อการทำงานและวัสดุที่จะซ่อมแซม เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 


วันนี้ LTP จะมาแนะนำคุณสมบัติและชนิดของกาวสำหรับงานช่าง ลองมาดูกันว่ากาวที่นิยมใช้ซึ่งหาซื้อง่าย มีขายทั่วไปนั้นมีอะไรบ้าง และควรใช้กับวัสดุแบบไหนจึงจะเหมาะสม ได้ผลดีจริงๆ


1.กาวตะปู

เนื้อกาวมีความเหนียว ใช้สำหรับติดวัสดุต่างๆ ในงานก่อสร้างทั้งภายในและภายนอก รวมถึงซ่อมแซมวัสดุต่างๆ ได้ โดยมีข้อดีคือแรงยึดเกาะสูงและรับน้ำหนักได้มาก ส่วนใหญ่แล้วมักนำมาใช้กับวัสดุที่เจาะหรือตอกตะปูติดไม่ได้ จึงเหมาะสำหรับใช้ติดพลาสติก อะลูมิเนียม โลหะ เซรามิก ไม้ กระจก คอนกรีต หรือหิน

 

2.กาวซีเมนต์

อาจเรียกว่า ปูนกาว ซีเมนต์กาว กาวซีเมนต์ หรือกาวติดกระเบื้องก็ได้ เป็นกาวที่ใช้ในงานก่อสร้างสำหรับปูกระเบื้อง ติดกระเบื้อง แกรนิตโต้ หรือโมเสคแก้ว และใช้ซ่อมแซมกระเบื้องที่แตกหักได้มีประสิทธิภาพ เพราะเนื้อกาวยึดเกาะพื้นผิวได้ดี ประสานแน่นไม่หลุดง่าย ซึ่งช่างทั่วไปมักนิยมใช้กันมากกว่าปูนซีเมนต์ผสมทราย เพราะใช้งานสะดวกรวดเร็ว และยังมีศักยภาพในการยึดเกาะดีกว่าด้วย

 

อ่านบทความอื่นๆ

3.กาวอีพ็อกซี่

เนื้อกาวแห้งเร็ว แรงยึดติดแน่น ทนทาน เมื่อแห้งตัวจะแข็งคล้ายโลหะ ไม่มีความยืดหยุ่น เวลาใช้งานต้องผสมเนื้อกาวกับสารทำให้แข็งเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับใช้ทั้งงานภายในและภายนอก โดยมีคุณสมบัติใช้ปะ อุด ประสาน หรือซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ และโดยปกติแล้ว กาวอีพ็อกซี่นั้นมีหลายเกรด โดยจะมีบอกบนฉลากว่าควรใช้กับงานประเภทไหนบ้าง นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติโดดเด่นอีกก็คือ ใช้ติดวัสดุได้หลายประเภท ทั้งแก้ว กระจก หิน เซรามิก ไปจนถึงพลาสติก และยังใช้ประสานโลหะชนิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น เหล็ก สแตนเลส ทองเหลือง ทองแดง

4.กาวแท่ง

ลักษณะเป็นแท่ง ไร้กลิ่น มีให้เลือกใช้หลายสี ทั้งสีขาว เหลือง และดำ ต้องใช้ร่วมกับปืนยิงกาวเพื่อให้ความร้อนละลายเนื้อกาวก่อนใช้งาน ซึ่งเมื่อร้อนแล้วจะมีความเหนียว เมื่อเย็นตัวลงจะแห้งและแข็งตัว ทำให้ใช้ประสานวัสดุได้ดี โดยกาวชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ติดเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก หรือแก้ว หรือใช้กับงานประดิษฐ์ งานฝีมือ งานกระดาษ งานไม้ งานโลหะ งานผ้า งานดินเผาก็ได้



ภาพ : bobvila.com


 5.กาวร้อน

เป็นกาวที่ใช้ประสานวัสดุที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก เมื่อแห้งแล้วเนื้อกาวจะค่อนข้างแข็งพอสมควร มีประสิทธิภาพในการยึดติดค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับงานซ่อมแซมภายใน งานเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายใน โดยใช้เชื่อมไม้ ติดเซรามิก ยาง แก้ว หรือพื้นผิวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ยกเว้นกับวัสดุบางชนิด เช่น พีอี พีพี เทฟลอน หรือซิลิโคน และมีข้อเสียคือ เนื้อกาวจะละลายหากสัมผัสน้ำ จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้งานภายนอกหรือบริเวณที่อาจโดนน้ำ

 

6.กาวลาเท็กซ์

เป็นกาวรูปแบบน้ำที่มีความเหนียวข้น จะแห้งช้าเพราะมีความยืดหยุ่นสูง ส่วนใหญ่นิยมใช้ติดวัสดุลักษณะบาง อย่างผ้าหรือกระดาษ แต่ถ้าเป็นยี่ห้อที่มีคุณภาพสูงหรือเป็นเนื้อกาวเกรดดี จะใช้ซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ ใช้ติดไม้ หรือติดบัวฝ้า-บัวผนังได้ โดยเนื้อกาวจะจับติดกับชิ้นงานได้ดีและแน่นหนา

7.กาวยาง (กาวเหลือง)

เนื้อกาวมีความหนืดและยืดหยุ่น ช่วยให้ยึดเกาะพื้นผิวได้ง่าย โดยใช้ติดวัสดุที่มีผิวเรียบได้หลายประเภท ตั้งแต่หนัง ยาง ผ้าใบ พีวีซี ไฟเบอร์ งานไม้ พลาสติก และโลหะ นิยมนำมาใช้ซ่อมแซมรองเท้า รวมถึงใช้ติดวัสดุที่มีรูพรุนได้ดี ทั้งยังทนต่อสภาวะอากาศและอุณหภูมิสูงอีกด้วย

 

8.กาวขาว (กาวกร๊าฟท์)

ลักษณะเนื้อกาวมีความหนืดและแห้งช้า แต่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะสูง เป็นกาวที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมรองเท้า เพราะทนต่อสภาวะอากาศและอุณหภูมิสูงได้ดี นอกจากนี้ยังใช้ติดวัสดุได้หลายชนิด เช่น ยาง ฟองน้ำ หนัง ไนล่อน พียู หนังพียู พีวีซี หรือโฟม

 

สรุป ‘ลักษณะของกาวที่ดี’ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ



ถึงแม้ว่าคุณสมบัติของกาวแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องการใช้งาน เนื้อกาว เวลาในการแห้งตัว ไปจนถึงการรับน้ำหนักซึ่งเราจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัสดุแล้ว เรายังต้องสังเกตลักษณะของกาวเพิ่มเติมดังนี้

1.ยึดติดหรือประสานได้ดีหรือไม่

2.หลังจากติดแล้วทำให้ชิ้นงานมีความสวยงามมากแค่ไหน

3.เนื้อกาวจะต้องไม่เหลวมากเกินไปจนไหลเยิ้มเปรอะเปื้อน

4.ราคาไม่แพง เหมาะสมต่อคุณสมบัติที่เขียนไว้บนฉลาก




ติดต่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าของ LTP พร้อมรับโปรโมชั่นสุดพิเศษได้ก่อนใครที่ช่องทางดังต่อไปนี้


Line OA : @Ltpgroup

โทร 02-1918766 ต่อ 10

Cr. ภาพจาก

- https://www.freepik.com/free-photo/master-working-crafts-with-glue_9861153.htm#query=glue&position=1&from_view=search

- https://www.freepik.com/free-photo/woman-s-hand-making-craft-with-hot-glue-gun_4929930.htm#query=glue&position=7&from_view=search

 

Share
แชร์
Share

สำนักงานใหญ่

บริษัท ลาภทวีภัณฑ์ กรุ๊ป
98,98/1,101 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

แผนที่ LTP

อีเมล

LTP [email protected]