ผลิตภัณฑ์ ( {{dataProducts.length}} )
บทความ ( {{dataBlogs.length}} )
| ข่าวสารและบทความ | รู้จัก สกรูเกลียวปล่อย สกรูงานไม้ สกรูไฮบริด เลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลายคนคงสงสัยว่า สกรูที่มีจำหน่ายอยู่ในร้านอุปกรณ์เครื่องมือช่างนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ หากต้องการจะเลือกซื้อใช้งาน เราควรเลือกซื้อสกรูแบบไหนจึงจะทำให้ชิ้นงานของเรานั้นมีประสิทธิภาพ แล้วสกรูแบบไหนเหมาะกับงานประเภทไหนกันแน่
ในวันนี้ LTP จะมาแนะนำสกรู 3 ประเภทที่นิยมใช้กันในงานทั่วไป และงานไม้ ได้แก่สกรูเกลียวปล่อยที่ใช้ในงานทั่วไป สกรูงานไม้ และสกรูชิปบอร์ด โดยดูกันว่าทั้ง 3 ประเภทนี้ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร มีคุณสมบัติและวิธีการใช้งานอย่างไร
สกรูเกลียวปล่อย
เป็นสกรูยอดนิยมที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยมีคุณสมบัติในการสร้างเกลียวบนชิ้นงานได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่แล้วเราจะพบเจอสกรูประเภทนี้ในงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถอดประกอบได้ หรือเป็นสกรูที่มาพร้อมตัวพุกที่ในรูจะไม่มีเกลียว ซึ่งหากไขสกรูเกลียวปล่อยเข้าไป สกรูจะเข้าไปสร้างเกลียวในวัสดุ แล้วใช้แรงยึดระหว่างเกลียวกับวัสดุ โดยปล่อยปลายยื่นออกไปนั่นเอง
ในท้องตลาด สกรูเกลียวปล่อยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ สกรูปลายแหลมที่ใช้งานทั่วไป เห็นกันได้บ่อย และสกรูปลายสว่านที่มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบไม่มีปีกและมีปีก ซึ่งแบบไม่มีปีกจะใช้สำหรับยึดบานพับ บานยึดเข้ากับเหล็ก ส่วนแบบที่มีปีกจะเหมาะกับการยึดวัสดุที่มีเนื้อ เช่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือแผ่นไม้อัดเข้ากับเหล็ก โดยปลายของสว่านจะทำหน้าที้เจาะเหล็กให้เกิดรู จากนั้นส่วนบริเวณปีกมีช่วยคว้านเนื้อวัสดุให้เกิดเป็นโพรง ช่วยให้เกลียวไหลเข้าไปยึดกับเหล็กแน่นหนาโดยที่วัสดุนั้นๆ จะไม่ถูกดึงออกมา มีคุณสมบัติทำให้วัสดุไม่เสียหาย ลดการแตกหักของวัสดุได้ดีและยึดเข้ากับโครงเหล็กได้อย่างแน่นและแข็งแรงมากขึ้น
ลักษณะโดยรวมของสกรูเกลียวปล่อยจะมีความคล้ายคลึงกัน คือมีเกลียวละเอียดที่มีระยะเกลียวอยู่ที่ราวๆ 1.5 มิลลิเมตร ตั้งแต่หัวสกรูจรดปลายสกรู ซึ่งเป็นลักษณะของเกลียวอเนกประสงค์ที่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะโดยเฉพาะเหล็กหรืออลูมิเนียมได้ค่อนข้างดี
สกรูงานไม้
สกรูประเภทนี้ผลิตออกมาเพื่อนำมาใช้ในงานไม้โดยเฉพาะ ปลายและเกลียวของสกรูจะมีความคมมากกว่าสกรูเกลียวปล่อย และมีความพิเศษตรงที่ปลายเกลียวมีลักษณะการตัดบาก ซึ่งส่งผลให้การเจาะวัสดุนั้นมีความแม่นยำมากขึ้น สกรูจะมุดลงวัสดุได้อย่างรวดเร็ว เจาะได้ง่ายยิ่งขึ้น และเมื่อเราเจาะลงไปจนสุดเนื้อไม้แล้ว เนื้อไม้กับขี้เลื่อยจะเข้าไปตรงส่วนปลายบาก ทำให้มีความแนบสนิทยิ่งขึ้น สกรูไม่คลายเกลียวออกเอง
สำหรับสกรูงานไม้จะมีเกลียวอยู่ 2 รูปแบบคือ เกลียวหยาบและเกลียวละเอียด เกลียวหยาบเหมาะสำหรับใช้ในงานไม้ทั่วๆ ไป มีร่องเกลียวกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ซึ่งเมื่อสกรูยึดกับไม้จะทำให้เกิดพื้นที่ของเนื้อวัสดุที่เข้าไปจับกับร่องเกลียวมากขึ้น ช่วยใก้ยึดเกาะได้ดีมากขึ้น โดยมากมักใล้ยึดไม้ในบริเวณกลางแผ่นขึ้นมา ส่วนเกลียวละเอียด ลักษณะร่องเกลียวจดเหมาะใช้งานกับงานไม้ที่แตกง่าย หรือใช้ยึดส่วนปลายของไม้ที่เสี่ยงต่อการแตกหักมากกว่า
นอกจากนี้ยังมีสกรูงานไม้ที่มีเกลียวครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งเป็นแกนตรง ไม่มีเกลียว ซึ่งมีคุณสมบัติที่เป็นจุดเด่นคือช่วงยึดวัสดุไม้กับไม้เข้าด้วยกันได้แนบสนิทมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นชนิดของเนื้อไม้ก็มีผลต่อการยึดติดด้วยเช่นกัน ฉะนั้นก่อนจะเลือกใช้ไม้ควรพิจารณาว่า ไม้แบบไหน ประเภทไหนที่เราจะนำมายึด ซึ่งแนะนำว่าต้องอ่อนกว่า หรือแข็งในระดับเดียวกันกับไม้ที่เป็นตัวรับ จึงจะช่วยให้แรงยึดนั้นสม่ำเสมอ แต่หากไม่แน่ใจว่าไม้ชิ้นไหนแข็งกว่าไม้ชิ้นไหน ก็มีวิธีการทดสอบคือ ให้นำไม้ทั้ง 2 ชนิดมาวาง แล้วใช้สกรูชนิดเดียวกันไขลงไป โดยใช้สว่านที่สามารถปรับทอร์ค (ค่าแรงบิด) ได้ แล้วให้สังเกตว่า สกรูตัวไหนจมลึกกว่ากัน ซึ่งสกรูตัวที่จมลึกกว่า จะเป็นไม้ที่อ่อนกว่าเหมาะสำหรับใช้เป็นตัวยึดมากกว่า ส่วนตัวที่จมน้อยกว่าเป็นไม้ที่แข็งกว่า เหมาะสำหรับใช้เป็นตัวรับ แต่ถ้าไม่มีสว่านให้ใช้ไขควงมือขันให้พอตึงๆ มือได้เช่นกัน
สกรูชิปบอร์ด
มีลักษณะคล้ายสกรูเกลียวปล่อย แต่ออกแบบไว้เพื่อใช้สำหรับงานไม้อัด เช่น บอร์ด OSB หรือแผ่นยิปซั่ม แต่ไม่นำมาใช้กับไม้เทียมที่เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์ อย่างแผ่นผนังสำเร็จรูป แผ่นสมาร์ทบอร์ด
ด้วยความที่เป็นสกรูใช้งานกับไม้อัดซึ่งมีความพรุนของเนื้อมากกว่าไม้จริง สกรูชนิดนี้จึงมีปลายแหลมคมและบางกว่าสกรูทุกประเภทที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด โดยระยะเกลียวจะอยู่ที่ราวๆ 1.5 ถึง 2 มิลลิเมตร ซึ่งแทรกเข้าไปในเนื้อไม้อัดได้เนียนกว่า และไม่ทำให้เนื้อไม้บอบช้ำเสียหาย ซึ่งการใช้งานของสกรูประเภทนี้ จะใช้สำหรับยึดวัสดุให้ติดกับแผ่นไม้อัด ซึ่งมักเป็นงานเฟอร์นิเจอร์เป็นหลัก เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง ที่จำหน่ายในห้างชั้นนำต่างๆ และสกรูประเภทนี้จะใช้สำหรับยึด งานประกอบขึ้นรูป หรืองาน Built in จะเน้นยึดพวกอุปกรณ์ติดตั้งเป็นหลัก หรืองานจำพวกฉากรับของ บานพับ หรือมือจับ เป็นต้น
ในปัจจุบันจะมีสกรูอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า สกรูไฮบริด เป็นสกรูที่มีฟังก์ชันผสมผสานกันระหว่างสกรูชิปบอร์ดกับสกรูไม้จริง โดยนำข้อดีของสกรูทั้ง 2 ชนิดนี้มารวมกัน โดยมีปลายบากเหมือนสกรูไม้จริง และมีปลายที่แหลมคม รวมถึงเกลียวคมร่องลึก แบบสกรูชิปบอร์ด ทั้งนี้ยังมีคอสกรูที่ไร้เกลียวแบบสกรูไม้จริงซึ่งนำมายึดไม้ได้แทบทุกรูปแบบโดยเพิ่มความหนาของคออีกด้วย ทำให้สกรูขาดยากหรือเสียหายยากขึ้นเมื่อต้องรองรับมีแรงบิดสูง
นอกจากนี้ส่วนฐานของสกรูไฮบริดยังมีเดือยที่เป็นเส้นเรียกว่าเดือยคว้าน ซึ่งช่วยให้หัวสกรูเสมอกับผิวชิ้นงานได้อย่างเรียบเนียน แล้วยังมีส่วนเกลียวแนวทแยงที่เป็นเกลียวเพิ่มแรงบิด ช่วยเสริมและกระจายแรงบิดจากอุปกรณ์ช่าง Power Tools ต่างๆ ที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้าหรือแบตเตอรีได้ดีมากขึ้น ทำให้สกรูบิดได้รวดเร็ว หรือทำให้ทนแรงบิดสูงๆ ได้ดียิ่งขึ้นในกรณีที่ต้องใช้งานกับไม้เนื้อแข็ง
ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สกรูในงานไม้
สกรูปลายสว่านเป็นสกรูที่ไม่ควรนำมาใช้ทำงานไม้ แต่เป็นสกรูที่เหมาะสำหรับใช้ยึดเหล็กเท่านั้น เพราะเมื่อเจาะสกรูปลายสว่านเข้าไปในเนื้อไม้แล้ว สกรูปลายสว่านไม่จับเนื้อไม้ ทำให้แรงยึดไม่ดี จึงไม่ควรนำมายึดกับไม้ทุกชนิด รวมถึงไม้อัดด้วย
เรียบเรียงจาก : ช่อง Youtube JDJ สายจัด
สกรู LTP ตอบสนองความต้องการงานช่างที่หลากหลาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุม เจาะได้แม่นยำ ใช้งานง่าย สมดุลสูง ทุกขนาดมีคุณภาพสูงได้มาตรฐาน เหมาะสำหรับทั้งงานอุตสาหกรรมและงานครัวเรือน มีบริการหลังการขายโดยฝ่ายบริการลูกค้า พร้อมทั้งบริการส่งฟรีทั่วไทย !
สนใจสินค้า สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
Facebook : https://www.facebook.com/ltpmetal
Line OA : @Ltpgroup
โทร 02-1918766 ต่อ 10
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม
บริษัท ลาภทวีภัณฑ์ กรุ๊ป
98,98/1,101 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150