Home | ข่าวสารและบทความ | 7 ข้ออันตรายจากการใช้บันไดทรงเอที่หลายคนมองข้าม

LTP

7 ข้ออันตรายจากการใช้บันไดทรงเอที่หลายคนมองข้าม

การใช้งานบันไดทรงเอด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นก่อนใช้งานทุกครั้งจึงควรศึกษาข้อมูลของอุปกรณ์ให้ดี รวมถึงวิธีใช้งานที่ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย และวันนี้ LTP ได้รวบรวมข้อห้ามที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เป็นข้อผิดพลาดที่คนใช้งานบันไดทรงเอส่วนใหญ่เกิดจากความชะล่าใจ จนทำให้เจ็บตัวกันมาแล้วมากมาย


Cr.ภาพจาก : Pinterest


1.กางบันไดไม่สุด


บันไดงานช่างที่แข็งแรงได้มาตรฐานจะมีบานพับค้ำยันติดตั้งอยู่ที่ขา ก่อนนำมาใช้งาน ควรตรวจสอบบานพับเหล่านั้นให้ดีว่าชำรุดเสียหายหรือไม่ และการตั้งบันไดในการใช้งาน ควรตั้งบันไดให้ตรงแล้วกางบันไดให้สุด เพื่อให้บานพับช่วยค้ำขาบันได จะช่วยให้ทรงตัวได้ดียิ่งขึ้น และมีความมั่นคงระหว่างการทำงาน


2.ไม่เก็บเครื่องมือออกจากบันไดขณะเคลื่อนย้ายบันได


การทำงานช่างในลักษณะที่ต้องย้ายพื้นที่ทำงานบ่อยๆ ทำให้หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นจะต้องเก็บเครื่องมือช่างเล็กๆ น้อยๆ อย่างไขขวง หรือค้อนก่อนย้ายบันไดให้ดีเสียก่อนก็ได้ โดยย้ายบันไดทั้งๆ ที่ยังกางอยู่  เพราะสะดวกกว่าพับก่อนย้าย ซึ่งการกระทำเช่นนี้อาจทำให้เครื่องมือที่วางอยู่บนขั้นบันไดตกลงมาใส่เราจนทำให้ได้รับบาดเจ็บ ฉะนั้นทางที่ดีควรเก็บเครื่องมือให้เรียบร้อยก่อนย้ายบันไดทุกคร้ัง หรือมีวิธีที่ดีกว่านั้นคือใช้กระเป๋าใส่อุปกรณ์ช่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ทำงานทั่วไป เพราะนอกจากจะป้องกันอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยได้แล้ว ยังช่วยให้ขึ้นลงบันไดได้สะดวกกว่าการที่เรามีสิ่งของอยู่ในมืออย่างแน่นอน


3.ไม่เก็บบันไดหลังใช้งาน


การกางบันไดทิ้งไว้เป็นอันตรายต่อเด็กเล็กอย่างยิ่ง แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้ลูกหลานของเราปีนบันไดเล่นตอนที่เราเผลอ ฉะนั้นทางที่ดีที่สุด หากต้องการพักระหว่างทำงาน แนะนำว่าควรพับบันไดแล้ววางนอนกับพื้น เพื่อป้องกันเรื่องร้ายๆ ที่อาจตามมาจะดีกว่า





บันไดยืดหดแบบปรับระดับ (Extension Ladder) ทุกรุ่นของ LTP

มีการออกแบบสายล็อกสำหรับเก็บบันไดที่ล็อกได้อย่างแน่นหนา

ช่วยให้จัดเก็บง่าย ปลอดภัย กระทัดรัด ประหยัดพื้นที่ได้




อ่านบทความเกี่ยวกับบันไดเพิ่มเติม


4.ยืนหรือนั่งบนขั้นสุดท้ายของบันได


ส่วนมากอุบัติเหตุเสียการทรงตัวมักเกิดจากการนั่งหรือยืนทำงานบนบันไดขั้นสุดท้าย ฉะนั้นการเลือกใช้งานบันไดจึงควรเลือกบันไดที่สูงกว่าพื้นที่ทำงานจริงอย่างราวๆ 2 เมตร ยกตัวอย่าง หากต้องทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตร ควรเลือกใช้บันไดที่มีความสูง 6 เมตร และอาจยืนหรือนั่งต่ำกว่าขั้นบันไดบนสุดลงมาอย่างน้อย 2 ขั้น เพื่อให้ยึดจับขั้นบันไดที่สูงกว่าเมื่อเสียการทรงตัว


5.ตั้งบันไดใกล้สายไฟฟ้า


ไม่ควรตั้งบันไดใกล้กับเสาไฟฟ้า เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าช๊อตจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่หากต้องทำงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าจริงๆ ควรเลือกใช้บันไดที่ผลิตด้วยวัสดุที่ไม่เป็นฉนวน เพื่อความปลอดภัย เช่น บันไดไฟเบอร์กลาส 


6.ขึ้นลงบันไดผิดวิธี


การขึ้นลงบันไดที่ถูกต้อง ควรหันหน้าเข้าบันได และใช้มือทั้งสองข้างจับขั้นบันไดไม่ใช่ขาบันไดโดยที่ต้องกางบันไดให้สุดด้วย ที่สำคัญคือไม่ควรขึ้นลงบันไดอย่างรีบร้อน


7.การรับน้ำหนักของบันได


บันไดแต่ละรุ่นและแต่ละประเภทจะรับน้ำหนักได้ไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง บันไดขนาดเล็กหรือบันไดขนาดกลางที่ใช้ในครัวเรือนอาจรับน้ำหนักได้ราวๆ 90 - 100 กิโลกรัม ส่วนบันไดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงอาชีพอาจรับน้ำหนักได้มากถึงราวๆ 135 กิโลกรัมขึ้นไป 170 กิโลกรัมขึ้นไป ทั้งนี้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานก่อนใช้บันไดเพื่อให้ทราบเรทการรับน้ำหนักของบันได ซึ่งน้ำหนักที่ระบุในคู่มือคือน้ำหนักรวมของตัวบุคคลและเครื่องมือที่นำขึ้นไปใช้งานด้วย





Settled SL บันไดอะลูมิเนียมมาตรฐานการใช้งานระดับยุโรป

ออกแบบพิเศษรูปทรงเอพีระมิด สมดุลสูง ตั้งได้โดยไม่ล้มขณะพับ

รองรับน้ำหนักแบบกระจายตัวได้สูงสุดถึง 150 kg

https://ltpgroup.co.th/LTP-professional/ladder/series/Settled-SL


Settled SH บันไดอะลูมิเนียมมาตรฐานยุโรป  โครงสร้างเสาบันไดเป็นมุมเหลี่ยม

ลดโอกาสการล้มคว่ำระหว่างทำงาน ออกแบบพิเศษรูปทรงเอพีระมิด สมดุลสูง

รองรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 150 kg

https://ltpgroup.co.th/LTP-professional/ladder/series/Settled-SH


สรุปการใช้บันไดที่ถูกต้อง ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการใช้งาน


-ควรกางบันไดให้สุด ให้บานพับช่วยค้ำขาบันได เพื่อการทรงตัวที่มั่นคงยิ่งขึ้น

-เก็บเครื่องมือช่างให้เรียบร้อยออกจากบันไดก่อนเคลื่อนย้ายทุกคร้ัง เพื่อป้องกันเครื่องมือหล่นใส่

-ระหว่างพัก ควรพับบันไดแล้ววางนอนกับพื้น เพื่อป้องกันเด็กเล็กปีนเล่น

-ไม่ควรตั้งบันไดใกล้เสาไฟฟ้า หรือพื้นที่เสี่ยงต่อการโดนไฟฟ้าช๊อต

-เลือกใช้บันไดที่ผลิตด้วยวัสดุที่ไม่เป็นฉนวนเมื่อต้องทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

-ควรหันหน้าเข้าบันได และใช้มือทั้งสองข้างจับขั้นบันไดขณะขึ้นลง

-ศึกษาเรทการรับน้ำหนักของบันไดในคู่มือก่อนใช้งานทุกครั้ง




การซื้อบันไดที่มีประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้มาก โดยเฉพาะบันไดที่ผลิตด้วยวัสดุที่ได้แข็งแรง ได้มาตรฐาน และมีความหนาเพียงพอ รวมถึงข้อต่อต่างๆ ของบันได คานบานพับนั้นแน่นหนา ซึ่งบันได LTP ออกแบบโดยช่างผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจปัญหาในการทำงานช่างเป็นอย่างดี จึงทำให้สร้างสรรค์บันไดอเนกประสงค์รูปแบบต่างๆ ออกมาสู่ท้องตลาดได้อย่างยอดเยี่ยมและใช้งานได้เป็นอย่างดีที่สุด มีทั้งบันไดยืดหด Extension Ladder ที่ปรับระดับความสูงได้ตามต้องการ บันไดทรงเอ บันไดทรงพาด รวมถึงบันไดสเตนเลสขนาดกระทัดรัดสำหรับใช้งานในพื้นที่จำกัด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานทุกระดับตั้งแต่งานในครัวเรือนไปจนถึงงานระดับมืออาชีพ โดยครอบคลุมการทำงานได้ทุกประเภทในทุกพื้นที่จริงๆ







ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมโปรโมชั่นสินค้าราคาพิเศษได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้


Line OA : @035ywvki

โทร 02-1918766 ต่อ 10
Share
แชร์
Share

บทความแนะนำ

สำนักงานใหญ่

บริษัท ลาภทวีภัณฑ์ กรุ๊ป
98,98/1,101 หมู่ที่ 2 ตำบลขุนศรี อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150

แผนที่ LTP

อีเมล

LTP [email protected]